นักวิจัยอังกฤษ เปิดข้อมูลผู้ป่วยโควิด-19 ยาวนานถึง 411 วัน พบติดเชื้อโอไมครอน ตั้งแต่เริ่มระบาด
เอเอฟพี รายงานว่า ผลวิจัยใหม่พิมพ์เผยแพร่ในวารสารการแพทย์ชื่อ คลินิกคอล อินเฟคเชียส ดีซีสเซส(Clinical Infectious Diseases) ในวันนี้ ทีมนักวิจัยจากองค์กรด้านสาธารณสุข เอ็นเอชเอส ฟาวเดชัน ทรัสต์ (NHS Foundation Trust)และราชวิทยาลัยคิงส์คอลเลจ กรุงลอนดอน อังกฤษ เปิดเผยว่า พวกเขารักษาคนไข้ชายวัย 59 ปีคนหนึ่งได้สำเร็จหลังป่วยด้วยโรคโรคโควิด-19 เป็นเวลา 411 วัน หรือกว่า 13 เดือน โดยใช้วิธีการวิเคราะห์รหัสทางพันธุกรรมของเชื้อไวรัสในร่างกายของผู้ป่วย
ในตอนแรกคนไข้มีระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอหลังผ่าตัดปลูกไตใหม่ ต่อมาคนไข้ติดเชื้อไวรัส B.1 ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักที่แพร่ระบาดช่วงเดือนธันวาคม 2563 จากนั้น แพทย์พบว่า คนไข้ติดเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ใหม่คือ ไวรัสโอไมครอน และมีผลตรวจโรคเป็นบวกเรื่อยมาจนถึงเดือนมกราคมปีนี้ ทำให้แพทย์ปรับวิธีการรักษาให้สอดคล้องกับเชื้อไวรัสจนกระทั่งคนไข้หายป่วย ด้วยการให้คนไข้รับประทานยาชุดคือ ยาคาซิริวิแมบ (casirivimab) และยาอิมดีวิแมบ (imdevimab)จากบริษัทรีเจนเนอรอน ฟาร์มาซูติคอลส์ของสหรัฐฯ
สำหรับอาการป่วยจากเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นระยะเวลาที่ยาวนานเช่นนี้ ต่างจากการป่วยที่เรียกว่า ภาวะลองโควิด หรือ ภาวะติดเชื้อไวรัสซ้ำ อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยบางราย จำนวนไม่มาก จะมีผลให้ระบบภูมิคุ้มกันโรคอ่อนแอ เนื่องจากคนไข้รายนี้ติดเชื้อไวรัสกลายพันธุ์คือ โอไมครอนในช่วงเริ่มต้นของการแพร่ระบาด
เช่นเดียวกับการรักษาภูมิคุ้มกันในร่างกายหรือ แอนติบอดีอื่นๆส่วนใหญ่ การรักษาด้วยวิธีให้คนไข้รับประทานยาชุดเช่นนี้ใช้ในการรักษาคนไข้ในบางกรณีเท่านั้น ไม่ได้รักษากับคนไข้ส่วนใหญ่เนื่องจากยาตัวเดิมใช้ไม่ได้ผลในการรักษาเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ใหม่เช่น ไวรัสโอไมครอน แต่การรักษาด้วยวิธีนี้ทำให้คนไข้ชายรายนี้หายป่วยจากโรคโควิด-19 เนื่องจากติดเชื้อไวรัสโอไมครอนในระยะแรกๆของการแพร่ระบาด
Be the first to comment